วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลทั่วไปของ อำเภอศรีสัชนาลัย


ข้อมูลพื้นฐานของอำเภอศรีสัชนาลัย

ข้อมูลทั่วไปของอำเภอศรีสัชนาลัย
1.1 คำขวัญประจำอำเภอศรีสัชนาลัย ประเพณีลือก้อง ทองโบราณ ย่านผ้าซิ่น ถิ่นมรดกโลก
1.2 สภาพภูมิศาสตร์ อำเภอศรีสัชนาลัยตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้ 
  1. ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอลับแลและอำเภอตรอน (จังหวัดอุตรดิตถ์)
  2. ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอศรีนคร อำเภอสวรรคโลก และอำเภอทุ่งเสลี่ยม
  3. ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเถิน (จังหวัดลำปาง)

1.3 ลักษณะภูมิประเทศ 
พื้นที่ราบลุ่ม  สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ได้แก่   ตำบลดงคู่, ป่างิ้ว, สารจิตร, หนองอ้อ, ศรีสัชนาลัย, ท่าชัย, หาดเสี้ยว  
พื้นที่ภูเขาและค่อยข้างลาดชัน บริเวณตำบลแม่สิน, แม่สำ, บ้านตึก, บ้านแก่ง

1.4 หน่วยการปกครอง อำเภอศรีสัชนาลัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 148 หมู่บ้าน ได้แก่
  1. หาดเสี้ยว
  2. ป่างิ้ว 
  3. แม่สำ
  4. แม่สิน 
  5. บ้านตึก
  6. หนองอ้อ
  7. ท่าชัย 
  8. ศรีสัชนาลัย 
  9. ดงคู่ 
  10. บ้านแก่ง
  11. สารจิตร 

1.5 ลักษณะภูมิอากาศ มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ   ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว อุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 27.6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย  33.0  องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.2 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,208.8๘ มิลลิเมตร โดยมีบริมาณฝนตกมากที่สุดของจังหวัด

1.6 ประชากร ประชากรในอำเภอศรีสัชนาลัยส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมากจากชาวไทยดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้นานมาแล้ว โดยมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนสำเนียงภาษาพูดเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และยังมีกลุ่มชาวไทยพวนที่มาจากประเทศลาวตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ ตำบลหาดเสี้ยว และ ตำบลป่างิ้ว โดยมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และภาษาที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังมี  ชนกลุ่มน้อย เป็นชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง ม้ง  เย้า และลีซอ ซึ่งส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มานานแล้ว และอีกส่วนหนึ่งอพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดลำปาง น่าน พะเยา เชียงราย แพร่  ตาก และเพชรบูรณ์  ปัจจุบันชาวเขาเหล่านี้อาศัยอยู่ในเขตตำบลบ้านแก่ง และตำบลแม่สิน แม่สำ ในอำเภอศรีสัชนาลัย

1.7 ทรัพยากร อำเภอศรีสัชนาลัยเป็นอำเภอหนึ่งที่มีพื้นที่มาก และเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม และยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบด้วยป่าไม้มีค่า  มีพื้นที่ดินที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก มีแร่ธาตุที่สำคัญ มีแหล่งน้ำธรรมชาติและทรัพยากรการท่องเที่ยว  ทั้งแหล่งธรรมชาติที่งดงามเหมาะแก่การท่องเที่ยว ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวศรีสัชนาลัย


2.1 ประวัติ 
เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองศรีสัชนาลัย มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน คือมีทั้งที่ราบลุ่มริมแม่น้ำยมและที่ลาดเชิงเขาพระศรี และเขาใหญ่ ทำให้มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และสิ่งป้องกันทางธรรมชาติที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกศัตรูได้อย่างดีด้วย จากหลักฐานที่สำรวจพบ พวกขวานหินขัด (เครื่องมือ เครื่องใช้ ของคนสมัยโบราณ) ที่พบที่ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย รวมทั้งจาก หลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น แสดงว่ามีชุมชน เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 (พ.ศ.800) เป็นต้นมาเป็นชุมชนร่วมสมัย ทวารวดีในภาคกลางถัด ขึ้นมาเป็นหลักฐานของวัฒนธรรมร่วมสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 18, พ.ศ. 1700) ปรากฏหลักฐานที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ในระยะนั้นเมืองศรีสัชนาลัยมีชื่อว่าเมืองเชลียง ตามหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึก ตำนานและพงศาวดารที่ยืนยันว่ามีเมืองโบราณ 2 เมือง อยู่ในลุ่มน้ำยมก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย และเมืองเชลียง ต่อมาได้มีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้นทางด้านทิศเหนือของเมืองเชลียงห่างออกไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร เมืองศรีสัชนาลัยมีความสำคัญควบคู่กันมากับเมือง สุโขทัย โดยจากหลักฐานได้กล่าวถึงพ่อขุนศรีนาวนำถม ว่าเป็นกษัตริย์ครอง 2 นคร คือ เสวยราชย์ทั้งเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย (ก่อน พ.ศ. 1781) ต่อมาจนถึงพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ.1781 - 1822) ทรงโปรดให้พ่อขุนบาลเมืองไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ส่วนพ่อขุนรามคำแหง พระยาลิไทก็เคยครองเมืองศรีสัชนาลัย ก่อนขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสุโขทัย  เมืองศรีสัชนาลัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัย ต่อมาจนแม้กระทั่งสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา และได้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เมืองสวรรคโลก เมืองศรีสัชนาลัยหรือเมืองสวรรคโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นเมืองสำคัญที่ผลิตภาชนะเครื่องเคลือบสังคโลกให้แก่กรุงศรีอยุธยา
มีหลักฐานเอกสารโบราณของไทยและจีนประมาณพุทธศตวรรษที่16 ได้กล่าวถึงเมืองโบราณแห่งหนึ่งอยู่ระหว่างบริเวณแถบเมืองสุโขทัย โดยเอกสารจีนโบราณราชวงศ์ซุงเรียกว่าเมืองเฉิงเหลียง พงศาวดารโบราณเรียกว่า แดนเฉลียง ก่อนช่วงเวลาที่พ่อขุนศรีอินทราทิตยืจ ะเป็นกษัตริย์ปกครองสุโขทัยนั้นมีเหตุการณ์ที่ปรากฏในศิลาจารึกตำนานและ พงศาวดารยืนยันว่าปรากฏมีเมืองโบราณ 2 เมืองในลุ่มแม่น้ำยมอยู่ก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย กับเมืองเชลียง พระมหากษัตริย์ไทยองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์ผาเมือง กับเมืองเชลียง พระมหากษัตริย์ไทยองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์ผาเมือง เคยเป็นเจ้าเมืองเชลียงก่อนที่จะขึ้นครองราชย์ที่สุโขทัย เมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นประชนม์ ขอมสบาด โขลญลำพงใช้กำลังยึดทั้งเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย ต่อมาพ่อขุนผมเอง โอรสพ่อขุนศรีนามนำถมร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวได้ยึดเมืองทั้งสองกลับมาได้จน ในที่สุดพ่อขุนบางกลางหาวได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองสุโขทัย โดยมีพระนามว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ต่อมาพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ส่งพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ คือ พ่อขุนบาลเมืองไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ต่อมาพ่อขุนบาลเมืองขึ้นครองราชย์ที่สุโขทัยแล้วพ่อขุนรามคำแหงก็ได้ปกครอง เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของคำว่าเมืองลูกหลวง เมืองศรีสัชนาลัยคงดำรงความเป็นเมืองบูกหลวงของสุโขทัยต่อมาอีกหลายชั่ว กษัตรยิ์แม้เมืองกรุงสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาในช่วงต้น ๆ ของการเสียอิสรภาพเชื้อพระวงศ์ผู้สูงศักดิ์ แห่งราชวงศ์พระร่วงก็คงได้รับเกียรติปกครองดูแลเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ตามเดิม จนมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยาเมืองนี้กลายเป็นสมรภูมิการรบครั้งสำคัญ และเป็นเมืองรับศึกระหว่างสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งอยุธยาและพระเจ้าติโลก ราชแห่งเชียงใหม่ชัยชนะของอยุธยาในศึกครั้งนั้นก่อให้เกิดวรรณคดีลืมพระ เกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นชิ้นเยี่ยมของวรรณคดีคือ ลิลิตยวนพ่าย ผลอันสำคัญหลังศึกยวนพ่ายคือเมืองศรีสัชนาลัย ตกอยู่ในการควบคุมของอยุธยาอย่างจริงจัง
 ในสมัยต่อมาเมื่อมีการจัดระบบการปกครองปรับปรุงเรื่องเชื้อสายราชวงศ์ให้เข้าอยู่ในระบบราชการเรียบร้อยแล้ว กรุงศรีอยุธยา ได้เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเข้ามา ปกครองเมืองสวรรคโลกมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกระดับเมืองโท หลังเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 เมืองศรีสัชนาลัยหรือ สวรรคโลกถูก ทิ้งร้าง ต่อมาเมืองสวรรคโลกได้จัดตั้งขึ้นใหม่ ที่บ้านท่าชัยอยู่ด้านทิศใต้ของเมืองเดิม และในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านวังไม้ขอน ซึ่งคือที่ตั้งของอำเภอสวรรคโลกในปัจจุบัน ส่วนชื่อเมืองศรีสัชนาลัยถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของอำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งได้รวมเอาเขตพื้นที่เมืองศรีสัชนาลัยโบราณไว้ด้วย
ชนกลุ่มแรกที่ถือได้ว่าเป็นกลุ่มแตกของการก่อตั้งอำเภอศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน จากตำนานคงถือได้ว่าเป็นชนชาวบ้านตึกในปัจจุบันนี้เอง ซึ่งจากตำนานได้กล่าวไว้ว่าเมืองครั้งอดีตมีชายแก่คนหนึ่งได้เดินทางเข้ามรถึงบ้านแห่งนี้ (บ้านตึกในปัจจุบัน) เมื่อครั้งหมู่บ้านแห่งนี้ยังไม่มีชื่อบ้าน โดยมุ่งหน้าจะไปตั้งหลักฐานทำมาหากินใจท้องที่ที่อุดมสมบูรณ์ พอถึงหมู่บ้านแห่งนี้แล้วก็คิดว่าคงเดินทางต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เพราะมีภูเขาล้อมรอบกั้นขวางอยู่ข้างหน้าอีกด้วย กอร์ปกับในเวลานั้นมีฝนตกชุกมาก จึงได้เอ่ยขึ้นว่า ที่นี่ตึ๊กแล้ว ฝนก็ตึ๊กอย่างอื่นก็คงตึ๊กด้วย และจึงหยุดเดินทางต่อไปและได้ตั้งหลักฐานมั่นคงอยู่ที่บ้านแห่งนี้และต่อมาชาวบ้านแห่งนี้จึงได้เรียกชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “บ้านตึ๊ก” ซึ่งต่อมาได้เรียกเพี้ยนมาเป็น “บ้านตึก” ในที่สุด (คำว่า “ตึ๊ก” คงมีความหมายว่า สิ้นสุดแล้ว เช่นอร่อยที่สุด ไกลที่สุด ดีที่สุด ฯลฯ ประชาชนจึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่าบ้านตึ๊กในที่สุดจนใช้อยู่จนปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2441 บ้านตึกได้ตั้งเป็นที่ว่าการอำเภอครั้งแรก ตั้งอยู่ที่บ้านปลายนา (หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านตึกในปัจจุบัน) เดิมชื่ออำเภอด้ง อยู่ห่างไปทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอปัจจุบันประมาณ 12 กิโลเมตร สาเหตุที่ใช้ชื่อว่า “อำเภอด้ง” เนื่องจากบริเวณที่ตั้งอำเภอเป็นที่ราบและมีภูเขาล้อมรอบด้วยภูเขาเป็นรุปวงกลม คล้ายรูปกระด้ง จึงได้ตั้งชื่อว่า อำเภอด้ง ชื่อตั้งอยู่ได้นานถึง 12 ปี โดยมี นายอำเภอ 2 คน คือ คนที่ 1 ชื่อพระเมืองด้ง คนที่ 2 ชื่อหมื่นด้งนคร แต่ประชาชนนิยมเรียกนายอำเภอว่า เจ้าพ่อเมืองด้นหรือเจ้าปู่เมืองด้ง ต่อมาเมื่อนายอำเภอคนที่ 3 ชื่อขุนศรีทิพบาลมารักตำแห่งใหม่ได้พิจารณาเห็นว่าการคมนาคมไม่สะดวก เพราะในสมัยนั้นต้องใช้ลำนี้เป็นเส้นทางติดต่อคมนาคมกันเป็นส่วนใหญ่ จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งใหม่ที่บ้านป่างิ้ว ฝั่งตะวันออกริมแม่น้ำยม (ปัจจุบันอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลป่างิ้ว อำเภอศรีสัชนาลัย) และยังคงใช้ชื่ออำเภอว่า “อำเภอด้ง” เหมือนเดิมตั้งอยู่ได้นานประมาณ 5 ปี เมื่อขุนศรีทิพบาลเกษียณอายุราชการและนายอำเภอคนใหม่ยังไม่มาเข้ารับตำแหน่งนั้น ผู้ร้ายได้เข้าปล้นที่ว่าการอำเภอด้ง และได้เผาที่ว่าการอำเภอด้งด้วย และต่อมานายอำเภอคนที่ 4 คือ พระยาพิศาลภูเบท หรือพระยาพิศาลคีรี มารับตำแหน่งใหม่จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอลงมาตั้งที่บ้านหาดเซียว เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2458 และยังใช้ชื่อว่า “อำเภอด้ง” เหมือนเดิม ซึ่งหมู่บ้านหากเซียวนี้เดิมชื่ออะไรไม่ปรากฏ ( บ้านหาดเชี่ยว หรือหาดเซี่ยว ตามสำเนียงไทพวน ซึ่งมาจากหาดบริเวณริมแม่น้ำในหมู่บ้านมีโขดหินมากมาย ทำให้น้ำไหลเชี่ยวกว่าที่อื่น) 
หลังจากได้ย้ายที่ว่าการอำเภอด้งมาอยู่ที่หมู่บ้านหาดเสี้ยว แล้วต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น “อำเภอหาดเสี้ยว” ตามที่กล่าวมาข้างต้นจนถึง พ.ศ. 2476 หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว คณะรัฐบาลสมัยพระยาพหลพลพยุหเสนาพิจารราเห็นว่า ควรจะนำปูชนียสถาน หรือสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งเป็นชื่ออำเภอ/จังหวัด จึงได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอหาดเสี้ยวใหม่เป็น “อำเภอศรีสัชนาลัย” เพราะเมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์คู่กับเมืองเช่ลี้ยง ซึ่งปัจจุบันนี้เมืองศรีสัชนาลัยได้ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย ได้ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย ชาวบ้านเรียกว่าเมืองเก่า คำว่าศรีสัชนาลัยเดิมเขียนมีตัว ช. 2 ตัว จนถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2510 สมัยรัฐบาลชุดจอมพลถนอม กิตติขจร คณะราชบัณฑิตยสถาน ได้นำเอาชื่ออำเภอ/จังหวัดต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาให้เข้ากับอักษรโรมัน ซึ่งอำเภอศรีสัชนาลัย ในสมัยนั้นก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงด้วยโดยให้ตัดตัว ช. ออก 1 ตัว จึงเขียนเป็น “ศรีสัชนาลัย” ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานิเบกษาฉบับพิเศษ หน้า 2 เล่นที่ 84 ตอนที่ 56 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2510 และได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้

2.2 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ และตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัย อยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ประมาณ 550 กิโลเมตร เมืองโบราณศรีสัชนาลัยมีสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองเป็นที่ราบเชิงเขาพระศรี และ เขาใหญ่ ทางด้านทิศตะวันตก และมีลำน้ำยมอยู่ทางด้านทิศตะวันออก กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ประมาณ 28,217 ไร่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรใน พ.ศ.2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรกและเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2533โบราณสถานที่สำคัญ เมืองโบราณศรีสัชนาลัย มีขอบเขตของผังเมืองที่ก่อสร้างทับซ้อนอยู่บนบริเวณ เมืองเชลียงเดิม กล่าวคือ แนวกำแพงเมืองเชลียงเดิม ทำเป็นคันดินยาวขนานไปตามลำน้ำยมโดยเริ่มจาก บริเวณวัดมหาธาตุเชลียงขนานลำน้ำยมเลยผ่านเขาพนมเพลิงออกไป ซึ่งยังคงปรากฎหลักฐานคันดินให้เห็นอยู่เป็นระยะ ๆ   ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้น จึงได้พิจารณาเลือกบริเวณที่มีสภาพ ภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา กำหนดขอบเขตการก่อสร้างกำแพงเมืองจากศิลาแลง ลักษณะผังเมืองเป็น รูปหลายเหลี่ยมไม่สม่ำเสมอตามทิศทางของแม่น้ำยม ในช่วงนี้ลักษณะของกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยมี หลายแนวเพราะคงมีการผสมผสานเอาแนวกำแพงคันดินในสมัยที่เป็นเมืองเชลียงเข้ามาใช้ประโยชน์ด้วย โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีทั้งภายในและภายนอกกำแพงเมือง ซึ่งรวมทั้งหมดมีไม่น้อยกว่า 215 แห่งโบราณสถานที่สำคัญมีดังนี้ 
1.) โบราณสถานภายในกำแพงเมือง สำรวจพบแล้วมีทั้งสิ้น 28 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดนางพญา วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดสวนแก้ว เป็นต้น
2.) โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 35 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดกุฎีราย เตาทุเรียงบ้านป่ายาง เตา ทุเรียงบ้านเกาะน้อย ซึ่งเป็น แหล่งผลิตภาชนะดินเผา “เครื่องสังคโลก” ที่สำคัญของเมืองศรีสัชนาลัย
3.) โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดสวนสัก วัดป่าแก้ว เป็นต้น
4.) โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 24 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดชมชื่น วัดเจ้าจันทร์ และวัดโคกสิงคาราม เป็นต้น
5.) โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 19 แห่ง ที่สำคัญ คือ วัดพญาดำ วัดราหู วัดสระประทุม วัดพรหมสี่หน้า วัดยายตา เป็นต้น
6.) โบราณสถานนอกกำแพงเมืองบนภูเขา สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 15 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดเขาใหญ่บน วัดเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจดีย์รอบ และวัดเขาใหญ่ล่าง เป็นต้น 
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกันกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทย ยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น