วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

พิพิธภัณฑ์สาธรผ้าทองคำ บ้านหาดเสี้ยว ศรีสัชนาลัย สุโขทัย

พาเด็กๆมาทัศนะศึกษาที่พิพิธภัณฑ์สาธรผ้าทองคำ

เจ้าหลิวถามคุณป้าด้วยความสนใจอยากรู้ประสาเด็กๆมากๆ 

ภาษาไทยพวนวันละคำ แต่ผมเป็นไทยวนครับ 

สงสารชิงช้าเรยเรา

เจ้าหลิวเล่นอะไรนั้น

คุณลุงสาธรกำลังอธิบายให้เด็กๆฟังเรื่องราวของผ้าทอ



ผ้าจก ใช้มือจก

เส้นสาย

ก่อนที่เด็กๆจขะเข้ามาทำให้ในนี้อลมาน

ผ้าทองคำ

ภายในของเก่าเยอะมาก

ผ้าโบราณก็มาก

เครื่องบวชชาวไทยพวน

ภาพเก่าหาดูยากมากๆ

บ้านโบราณ

สวยงามน่าอยู่มากๆ

กลับโรงเรียนแล้วครับ

ขอสวยหน่อยสองสาว

ม่วนขนาด

หนูเรียนเก่งที่สุดในห้องคะ ขอหน่อย

สนุกกันน่าดูเรยนะ


ฟันหรอเนีย

ภายในพิพิธภัณฑ์ได้มีการจัดแสดงเรื่องราว ความเป็นมาของผ้าทอมือลายโบราณของชาวไทยพวน บ้านหาดเสี้ยว ไว้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป้นจกเก้าลายบ้านหาดเสี้ยว ผ้าที่ใช้ในพิธีบวชนาคด้วยขบวนช้าง ผ้าที่ใช้ในพิธีแต่งงาน ซึ่งล้วนเป็นเอกลักษณ์ผ้าทอมือของชาวไทยพวน บ้านหาดเสี้ยว ที่สืบทอดต่อกันมานับร้อยๆปี นอกจากนี้ยังมีผ้าซิ่นทองคำ (ซิ่นไหมคำ) ผืนเก่าที่มีอายุมากกว่าร้อยปี และผืนใหม่ ซึ่งจัดทอขึ้นใช้ในพิธีแต่งงาน นอกจากนี้ยังมีผ้าซิ่นตีนจก จากแหล่งต่างๆ เช่น จากอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดอุตรดิต และยังรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในพิธีแต่งงานของชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว เครื่องกองบวช เครื่องแต่งกายสตรีไทยพวนในอดีต
       คุณสาธร โสรัจประสพสันติ เจ้าของร้านสาธรเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวผ้าทอมือลายโบราณ และผ้าที่มีความวิจิตรงดงามที่เก็บสะสมด้วยใจรัก ด้วยความผูกพัน มาเป็น พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำบ้านหาดเสี้ยว การสะสมผ้าเก่าที่มีอายุเกิน 100 ปี ผ้าตีนจกลวดลายต่างๆ ผ้าคลุมหัวช้างลวดลายโบราณ ผ้าขิด ผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ เป็นเสมือนหนึ่ง การเก็บบันทึกประวัติศาสตร์เรื่องราวของผ้าทอมือลายโบราณ เป็นการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความวิจิตรงดงามเหล่านี้ให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทย และยังเป็นพิพิธภัณฑ์ทางปัญญาสำหรับผู้สนใจใฝ่เรียนรู้เรื่องผ้าทอมือของไทยได้เป็นอย่างดี
       คุณสาธร ยังเล่าถึงผ้าทอทองคำผืนรักอายุมากกว่าร้อยปี และผ้าทองคำที่ทอขึ้นมาใหม่ด้วยดิ้นทองคำถึง 80% ซึ่งตัดใจให้ลูกสาวยืมใช้เป็นชุดแต่งงาน โดยต้องระมัดระวังอย่างดี มิให้ความเสียหายเกิดขึ้นกับผ้าที่รักและถนอมยิ่งชีวิต
       เมื่อก่อนใช้ชื่อพิพิธภัณฑ์ผ้าเก่า ภายหลังเปลี่ยนมาเป็น พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ เพื่อใช้เป็นจุดขาย ให้ทางร้านผ้าของคุณสาธรด้วย ปัจจุบันได้รวบรวมผ้าซิ่นตีนจกลายโบราณ 9 ลายไว้อย่างครบถ้วน ผ้าซิ่นตีนจกเหล่านี้มีอายุมากกว่าร้อยปี การให้รายละเอียดและสีสันบนตัวผ้าของผ้าซิ่นเหล่านี้เป็นรูปแบบดั้งเดิมที่สวยงามและหาดูได้ยากยิ่ง
       ผ้าที่โดดเด่น เห็นจะเป็น ผ้าซิ่นตีนจก ซิ่นหาดเสี้ยว แต่เดิมเป็นซิ่นต่อกันสามชิ้น ลายขวางแบบซิ่นล้านนาไทย มักเป็นผ้าฝ้ายอาจมีไหมสลับบ้างแต่ไม่ใคร่พบ ซิ่นหาดเสี้ยวมี 2 ชนิด คือ ซิ่นธรรมดาใช้ใส่อยู่กับบ้านและทำงาน และซิ่นตีนจกที่ใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานบุญ งานเทศกาลและพิธีการสำคัญ ซิ่นธรรมดามักเป็นซิ่นพื้นลายขวางลำตัว มีเชิงเป็นแถบสีดำและสีแดงอมส้ม ส่วนซิ่นตีนจกนั้นจะประกอบด้วยสามส่วนคือ หัวซิ่น (ส่วนบน) ตัวซิ่น (ส่วนกลาง) และตีนซิ่น (ส่วนล่าง) ตีนจกคือเชิงซิ่นที่ใช้เทคนิคการควักหรือล้วงด้วยมือ ซึ่งอาจใช้ขนเม่น หรือไม้ช่วยก็ได้ ทำให้เกิดลวดลายบนผืนผ้าสลับสีสันสวยงาม ลายตีนจกของหาดเสี้ยวจะมีลักษณะการทอที่ทอคว่ำหน้าลายลง ลวดลายที่ทอเป็นลายเรขาคณิตเป็นหลัก ลายที่พบมีอยู่ 9 แบบด้วยกัน คือ
-ลายสิบหกดอกตัด (ลายสิบหกขอ)
-ลายสิบสองดอกตัด (ลายแปดขอ)
-ลายสี่ดอกตัด (ลายสี่ขอ)
-ลายเครือใหญ่ (ลายดอกเครือใหญ่)
-ลายเครือกลาง (ลายดอกเครือกลาง)
-ลายเครือน้อย (ลายดอกเครือน้อย)
-ลายอ่างน้ำ
-ลายสองท้อง
-ลายดอกสองท้อง
       นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดแสดงเรือนไทยของชาวไทยพวนในสมัยโบราณ เครื่องมือเครื่องใช้ เช่น กระต่ายขูดมะพร้าว เคียวเกี่ยวข้าว เกวียน ฯลฯ พร้อมทั้งยังแสดงสาธิตกรรมวิธีในการทอผ้าซิ่นตีนจกของชาวไทยพวน บ้านหาดเสี้ยวให้ชมอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ ตั้งอยู่ที่บ้านหาดเสี้ย ต.หาดเสี้ยว ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย