วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

การละเล่นนางกวัก งานบุญกำฟ้า


“ นางกวักเอย นางกวักเจ้าแม่กวัก อีพ่อหยักแหย่ อีแม่แหย่หย่อ ก้นหยุกก้นหยอมาสูงเอียงข้าง เจ้าอวดอ้างต่ำหุ เดือนหงาย ตกดิน ตกทราย เดือนแจ้ง เจ้าแม่แอ้งแม่ง จากฟ้าลงมา นางสีดาแก่งแหน ต้อนแต้น ต้อนแต้น .... ”
เสียงเพลงอัญเชิญดวงวิญญาณในการละเล่นพื้นบ้านที่เรียกว่า “ การเล่นนางกวัก ” ยังคงก้องกังวาน ในยามค่ำคืน ของวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เสมอ การเล่นนางกวัก เป็นการละเล่นที่นำกวัก ซึ่งเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ในการทอผ้า มาตกแต่ง ใส่หัว ที่นำมาจากกะลามะพร้าว แล้วเขียนคิ้ว ทาปากให้สวยงาม แล้วอัญเชิญดวงวิญญาณ ของบรรพบุรุษ มาเข้าสิงสถิต เพื่อทำการ เสี่ยงทาย ซึ่งอาจจะเสี่ยงทาย ในเรื่องของคู่รัก การทำงาน หรือโชคชะตาชีวิต
        ในสมัยก่อน ตอนค่อนแจ้ง กะพอแสงเงินแสงทอง จับขอบฟ้า ลูกหลาน จะเตรียมหาบซ้าแฮ ( ตะกร้าใส่อาหารคาวหวาน ) ไปถวายพระที่วัด ครั้นพอพระสงฆ์ ฉันอาหารเสร็จ อาหารคาวหวานและข้าวจี่ที่เหลือ จะแบ่งปันกันกิน ( ข้าวจี่ หมายถึง ข้าวเหนียวนึ่ง ที่ปั้นเป็นก้อนกลมๆ รีๆ เหมือนผลมะตูม หรือฟองไข่เป็ด แล้วนำไม้ไผ่ ที่เหลายาว ประมาณศอกเศษ เสียบทะลุตรงกลาง นำไปปิ้งไฟให้ข้าวเหนียวสุก อาจจะนำเกลือป่นโรยสักนิดก็ได้ )



ทำพีธีขอขมาเจ้าที่เจ้าทางเจ้าป่าเจ้าเขา ขอใช้สถานที่ในการละเล่น

แต่งตัวแม่กวัก

ต้องแน่นหนา

อุปกรณ์สำหรับแต่งตัวแม่กวัก


ยังไม่แน่นพอ

ทาแป้งแม่กวัก

เขียนปาก


ทำการร้องเพลงเชิญ

เมื่อเข้าแล้วให้เด็กได้ลองพิสูจน์ว่าแม่นางกวักนั้นแรงดีหรือไม่ 

เปลียนคนจับบ้าง แต่ต้องมีคนที่เป็นร่างหนึ่งคน คอยจับไว้

ครูขอบ้าง

ลองแล้วหนักจริง แรงมากๆ

เด็กๆสนใจมาก

ก่อนจะเชิญออก

ในงานบุญนางกวักนั้นต้องมีการทำอาหารแจกด้วย คือข้าวโค้ง แป้งจี่

แม่ใหญ่ตำแป้ง

แแจกเด็กๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น